ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการดูแลปากกาเขียนแผ่นใสให้อยู่กับเราไปนาน ๆ | ​​Artlink  (อ่าน 378 ครั้ง)

admeadme

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 90
    • ดูรายละเอียด

6 วิธีการดูแลปากกาเขียนแผ่นใสให้อยู่กับเราไปนาน ๆ
ปากกาเขียนแผ่นใสลบไม่ได้ และปากกาเขียนพลาสติกลบได้เป็นเครื่องเขียนที่สามารถดูแลรักษาได้อย่างง่ายดาย และที่สำคัญคือหากเราใช้งานอย่างถูกวิธีปากกาชนิดนี้จะสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานและยังคงความคมชัดของเส้นหมึกอยู่เสมอ ในบทความนี้เราจึงได้นำเคล็ดลับในการดูแลรักษาปากกาเขียนแผ่นใสให้พร้อมใช้งาน และมีอายุการใช้งานที่ยืนยาว เพียงทำตามคำแนะนำ 6 ข้อ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการเขียนบนพื้นผิวที่ไม่เหมาะสม
เนื่องจากปากกาเขียนแผ่นใสหรือปากกาเขียนพลาสติก เป็นปากกาที่ถูกออกแบบและผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้งานในรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง ทำให้หากเรานำปากกาชนิดนี้ไปเขียนลงบนพื้นผิวอื่น ๆ ที่ไม่ใช่พื้นผิวที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบให้หัวปากกาชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้อย่างลื่นไหลและมีลายเส้นที่มีความคมชัด ลื่นไหล ไม่มีสะดุดดังเดิมได้

ซึ่งพื้นผิวที่เหมาะสมต่อการใช้งานปากกาสำหรับเขียนแผ่นใส ได้แก่

  • แผ่นใส
  • แผ่นฟิล์ม
  • พลาสติก
  • กระดาษไข
  • งานวาดภาพสเกตช์ต่าง ๆ

นอกจากนี้ปากกาเขียนแผ่นใสบางยี่ห้อยังสามารถเขียนลงบนเหล็ก ไม้ ผ้า เครื่องหนัง แก้วและเซรามิกได้อีกด้วย แต่เราขอแนะนำว่าถ้าใช้เขียนลงบนไม้หรือพื้นผิวที่มีความขรุขระให้เลือกใช้เป็นปากกาเขียนแผ่นใสลบไม่ได้หรือปากกาเขียนพลาสติกลบได้ที่มีหัวใหญ่หน่อย เพราะจะดูแลรักษาหัวปากกาได้ง่ายกว่า

2. ไม่ควรโยน ขว้างปากกา หรือทำให้ปากกาตกพื้นอย่างแรง
แน่นอนว่าปากกาทุกชนิดหากทำตกบ่อย ๆ จะส่งผลกระทบและอาจทำให้ปากกาทุกประเภทเสื่อมสภาพลง หรือเกิดความชำรุดได้ ปากกาเขียนแผ่นใสก็เช่นเดียวกัน

เพราะหากเราทำปากกาเขียนแผ่นใสตกบ่อย ๆ อาจทำให้หัวปากกาตันได้ เมื่อนำไปใช้ในการเขียนงานอาจทำให้ลายเส้นสะดุด เขียนได้ไม่ลื่นไหลเหมือนเดิม หรือทำให้หัวปากกาแตก เส้นไม่คมชัด ควบคุมน้ำหมึก และควบคุมน้ำหนักมือในการเขียนได้ยาก อีกทั้งยังอาจทำให้หมึกซึมเลอะเปื้อนงานหรือมือของผู้ใช้ได้อีกด้วย

นอกจากนี้การโยน ขว้างปากกา หรือทำให้ปากกาตกพื้นอย่างแรง อาจส่งผลต่อตัวปลอกปากกาได้ เพราะแรงกระแทกจะทำให้ปลอกของปากกามีการชำรุด แตกหัก และมีร่องรอยของการกระทบกระเทือน ซึ่งจะส่งผลให้ปากกาดูเก่า ดูไม่สวยงาม และไม่น่าใช้นั่นเอง

ดังนั้นเราจึงควรระมัดระวังไม่ให้ปากกาสำหรับเขียนแผ่นใสตก และหาอุปกรณ์สำหรับใส่ปากกามาเพื่อปกป้องปากกาจากการกระทบกระเทือน เช่น กระเป๋าดินสอ หรือกล่องดินสอ เพื่อดูแลรักษาปากกาสำหรับเขียนแผ่นใสให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนานนั่นเอง

3. เช็ดทำความสะอาดให้ปากกาดูใหม่และน่าใช้งานอยู่เสมอ
การเช็ดทำความสะอาดเป็นหนึ่งในวิธีดูแลรักษาปากกาเขียนแผ่นใสที่จะทำให้ปากกาดูใหม่และน่าใช้งานอยู่เสมอ เนื่องจากการนำปากกาไปใช้ในการเขียนแผ่นใส แผ่นฟิล์ม พลาสติก กระดาษไข หรือเขียนงานวาดภาพสเกตช์ต่าง ๆ รวมถึงเขียนบนเหล็ก ไม้ ผ้า เครื่องหนัง แก้ว และเซรามิกนั้น อาจทำให้ปากกาเลอะสิ่งสกปรกต่าง ๆ ภายนอก โดยเฉพาะสิ่งสกปรกที่มาจากมือของเราได้

นอกจากนี้หากปากกาเขียนสำหรับเขียนแผ่นใสเป็นปากกาแบบหัวใหญ่ แล้วหัวปากกาไปเลอะหมึกสีอื่นมา เราก็สามารถใช้ทิชชูเปียกซับหรือแตะเบา ๆ ที่บริเวณนั้น เพื่อให้หมึกสีอื่น ๆ ที่เลอะที่หัวปากกาหายไป และทำให้เราสามารถใช้ปากกาสำหรับเขียนแผ่นใสได้อย่างลื่นไหล และไม่มีสีที่ผิดเพี้ยน


4. ไม่ควรเปิดปลอกปากกาทิ้งไว้ เนื่องจากจะทำให้อากาศเข้าและทำให้หมึกแห้งได้
ในการดูแลรักษาปากกาเขียนแผ่นใสลบไม่ได้หรือปากกาเขียนพลาสติกลบได้นั้นมีอีกหนึ่งข้อที่ควรให้ความสำคัญ คือ การปิดฝาของปากกาเมื่อเราไม่ได้ใช้งาน เพราะหากเราลืมปิดฝาบ่อย ๆ อาจจะทำให้หมึกปากกาค่อย ๆ แห้งไป ทำให้มีอายุการใช้งานที่สั้นลง และไม่สามารถใช้งานยาวนานอย่างที่ควรจะเป็นได้

5. ไม่ควรวางปากกาไว้ในอากาศที่ร้อนเกินไป
เนื่องจากหมึกและไส้หมึกปากกาเขียนแผ่นใสอาจจะละลายเมื่อโดนความร้อนที่มากเกินไปและทำให้หมึกไม่จับตัวเรียงกัน จนส่งผลให้เราไม่สามารถควบคุมการไหลของน้ำหมึกได้

6. ระวังอย่าให้โดนน้ำ หรือความชื้น
ข้อสุดท้ายที่ในการดูแลปากกาคือผู้ใช้ควรระวังเรื่องความชื้น หรือระวังไม่ให้ปากกาเปียกน้ำ เพราะเมื่อมีน้ำเข้าไปสู่ไส้หมึกจะทำให้ปากกาเสียหาย และไม่สามารถใช้งานได้อีก

และสำหรับใครที่กำลังมองหาปากกาเขียนแผ่นใสไม่ว่าจะเป็นปากกาเขียนแผ่นใสลบไม่ได้หรือปากกาเขียนพลาสติกลบได้ เพื่อนำไปใช้เองหรือนำไปจำหน่ายต่อ ที่ Artlink มีปากกาจำหน่ายหลายรูปแบบให้ทุกคนได้เลือกใช้งานได้ตามความต้องการ ทั้งยังเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องเขียนจากแบรนด์ดังในระดับสากล อาทิ ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Artline , Xstamper , TAT , StazOn จากประเทศญี่ปุ่น และผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Schneider จากประเทศเยอรมนีแต่เพียงผู้เดียวอีกด้วย