ผู้เขียน หัวข้อ: ทำความรู้จัก ประกันสังคม ม.33 ม.39 ม.40 คืออะไร แตกต่างกันยังไง  (อ่าน 321 ครั้ง)

Jenniee

  • บุคคลทั่วไป
ประกันสังคม เป็นสวัสดิการเบื้องต้นที่มนุษย์เงินเดือนที่เป็นพนักงานประจำทุกคนจะได้รับ ผ่านการหักเงินประกันสังคมไปกับเงินเดือนในแต่ละเดือน ซึ่งประกันสังคมจะมีผู้ประกันตนแตกต่างกันไป 3 ประเภท ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคมภาคบังคับมาตรา 33 ประกันสังคมภาคสมัครใจมาตรา 39 และประกันสังคมภาคสมัครใจมาตรา 40 แล้วประกันสังคมทั้ง 3 ประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ไปดูข้อมูลที่เรารวบรวมมาให้ดีกว่า

ประกันสังคมภาคบังคับมาตรา 33

เป็นประกันภาคบังคับที่พนักงานเอกชนทั่วไปหรือมนุษย์เงินเดือนจะต้องจ่ายเงินประกันสังคมทุกเดือน โดยจะหักจากเงินเดือนประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ หรือไม่เกิน 750 บาท ซึ่งมาตรา 33 จะให้ความคุ้มครอง 7 กรณี คือ เจ็บป่วย, อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, เสียชีวิต และว่างงาน

ประกันสังคมภาคสมัครใจมาตรา 39

เป็นประกันสำหรับผู้ที่เคยเป็นพนักงานประจำและมีสิทธิในประกันสังคมมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออกแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมเอาไว้ จึงมาสมัครเข้าสิทธิประกันสังคมมาตรา 39 แทน โดยเงื่อนไขของการสมัครประกันสังคมมาตรา 39 ก็คือ จะต้องเป็นผู้ประกันจนในมาตรา 33 มาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน โดยจะให้คุ้มครอง 6 กรณี คือ เจ็บป่วย, อุบัติเหตุ, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และเสียชีวิต

ประกันสังคมภาคสมัครใจมาตรา 40

เป็นประกันสังคมสำหรับบุคคลที่ไม่ได้เป็นพนักงานในบริษัทตามมาตรา 33 และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 โดยจะต้องเป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี โดยมีทั้งหมด 3 ทางเลือก ได้แก่
  • ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 70 บาท ได้รับความคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
  • ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท ได้รับความคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต
  • ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบเดือนละ 300 บาท ได้รับความคุ้มครองกรณีอุบัติเหตุ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร

และทั้งหมดนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับประกันสังคมทั้ง 3 มาตราที่เราได้รวบรวมมาแบ่งปันกัน สำหรับใครที่สงสัย หรือต้องการเช็คว่าเรามีประกันอะไรบ้าง ก็สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ www.sso.go.th เพื่อเช็คสิทธิประกันสังคมออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง