ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนดูประวัติสกรูหัวเหลี่ยม อะไหล่คู่ใจทุกงานช่าง!  (อ่าน 904 ครั้ง)

w.cassie

  • บุคคลทั่วไป
   ผู้ที่คลุกคลีอยู่กับงานช่างและเครื่องจักรต่าง ๆ คงรู้จักกับนอตตัวผู้หรือสกรู ที่ต้องใช้งานร่วมกับนอตตัวเมียหรือหัวนอตเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสกรูหัวเหลี่ยม สกรูหางปลา สกรูตัวหนอน สกรูเกลียว สกรูหัวจม หรือสกรูชนิดอื่น ๆ เพราะสกรูถือเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในทุกงานช่าง มีหน้าที่ช่วยยึดชิ้นงานเข้าด้วยกันให้แน่นหนา แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าจะเป็นสกรูหัวเหลี่ยมและสกรูสารพัดชนิดให้เราใช้งานกันในทุกวันนี้ อะไหล่เหล่านี้มีที่มาอย่างไร ไปดูคำตอบพร้อม ๆ กันได้เลย!


   ประวัติน่ารู้ กว่าจะมาเป็นสกรูอย่างทุกวันนี้
   คนจำนวนมากเชื่อกันว่าสกรูถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในยุคกรีกโบราณ ช่วง 287-212 ปีก่อนคริสตกาล โดยนักคณิตศาสตร์ชื่อดังที่มีชื่อว่าอาร์คิมิดิส ผู้ซึ่งเป็นคนพิสูจน์ว่ามงกุฎของกษัตริย์ในยุคนั้นไม่ได้สร้างมาจากทองคำแท้ด้วยการใช้ค่าความถ่วงจำเพาะของทองคำและเงิน ในตำราระบุไว้ว่าอาร์คิมิดิสประยุกต์ใช้หลักการของเฟืองตัวหนอนเพื่อช่วยให้เรือน้ำหนัก 75 ตันเคลื่อนที่ได้เป็นผลสำเร็จ และเฟืองตัวหนอนนี่เองที่เป็นต้นกำเนิดของสกรู อาร์คิมิดิสจึงถูกยกย่องว่าเป็นผู้ที่ประดิษฐ์สกรูขึ้นมาเป็นคนแรก

   สกรู (Screw) ทั้งสกรูหัวเหลี่ยม หัวจม และแบบอื่น ๆ มีหน้าที่หลักในการยึดอุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้นให้ติดกันอย่างแน่นหนาด้วยการใช้ประแจหรือไขควงในการขันให้แน่น หน้าตาคล้ายกับตะปู แต่ตัวสกรูจะมีเกลียวโดยรอบ ทั้งแบบเกลียวตลอดและเกลียวครึ่ง มีหลายเกรด หลายความยาว ผลิตจากวัสดุหลายชนิด เช่น เหล็ก สแตนเลส ทองเหลือง ไทเทเนียม พลาสติก และไม้
   คุณสมบัติสำคัญของสกรูทุกชนิด คือ ต้องมีความแข็งแรงทนทานสูง ไม่เป็นสนิม และต้องทนทานต่อการกัดกร่อน แรงบิด และแรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นระหว่างที่เครื่องจักรทำงานได้ดี นิยมใช้ในการยึดชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล รถยนต์ งานแม่พิมพ์ และงานประกอบโครงสร้างต่าง ๆ

   เจาะลึกจุดเด่นของสกรูหัวเหลี่ยม
   สกรูหัวเหลี่ยม (Hex Bolt) หรือสกรูหัวหกเหลี่ยม แตกต่างจากสกรูชนิดอื่น ๆ ตรงที่ลักษณะของหัวสกรูจะเป็นแบบหกเหลี่ยม เพื่อให้ง่ายต่อการขันและสามารถขันด้วยแรงบิดที่สูงกว่าหัวสกรูชนิดอื่นได้ จึงทำให้ยึดชิ้นงานได้แน่นขึ้นเป็นพิเศษ แต่บางรูปแบบงานก็จำเป็นต้องใช้นอตตัวเมียเพื่อให้ยึดชิ้นงานได้แน่นหนาขึ้นด้วยเช่นกัน

   และนี่คือเรื่องราวน่ารู้ของสกรูแบบหัวเหลี่ยมที่หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อน เลือกใช้สกรูทุกครั้ง อย่าลืมเลือกใช้ให้เหมาะกับลักษณะงาน ทั้งความยาวและชนิดของเกลียว เพื่อให้สามารถประกอบชิ้นงานได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุดนั่นเอง