ผู้เขียน หัวข้อ: อัปเดตทุกข้อควรรู้เกี่ยวกับ "การฉีดฟิลเลอร์เติมร่องใต้ตาลึก"  (อ่าน 410 ครั้ง)

w.cassie

  • บุคคลทั่วไป
    ตาลึกโหล เป็นรอยคล้ำที่แม้แต่คอนซีลเลอร์ก็กลบแทบไม่มิด! ปัญหาใหญ่ของสาววัยทำงานที่ยากจะแก้ไข เห็นจะมีแต่
ฟิลเลอร์เติมร่องใต้ตาลึกเนี่ยแหละที่ช่วยได้!

        แต่ก่อนเดินเข้าไปสถานเสริมความงาม แล้วบอกกับพนักงานว่าจะมาฉีดฟิลเลอร์ร่องใต้ตาลึกนะ ก็ควรจะศึกษาข้อควรรู้ให้แน่ชัดเสียก่อน จะได้เข้าใจให้ชัดว่าหัตถการที่กำลังจะทำเนี่ย เขาช่วยเรื่องอะไร และใช้อะไรฉีดเข้ามาในร่างกายของเรา ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันภัยความงามที่อาจหมายหัวคุณได้โดยที่ไม่รู้ตัว


ข้อควรรู้เกี่ยวกับการฉีดฟิลเลอร์เติมร่องใต้ตาลึก

     ฟิลเลอร์มีหลายประเภท แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยต้องเป็น HA เท่านั้น!

   คุณอ่านไม่ผิดหรอก เพราะแท้จริงแล้วฟิลเลอร์สำหรับฉีดร่องใต้ตาลึก หรือฉีดเติมเต็มส่วนต่าง ๆ ของใบหน้านั้น จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามคุณสมบัติการสลายตัว โดยจะมีทั้งหมดดังนี้
  • Temporary filler (แบบชั่วคราว)
       โดยเฉลี่ยจะมีอายุอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน ไปจนถึง 2 ปี และสามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ กล่าวคือไม่ส่วนเหลือตกค้าง ทั้งยังเป็นประเภทที่นิยมและอนุญาตให้ใช้ได้ในไทย หรือที่รู้จักกันว่าสารไฮยาลูรอนิกแอซิด (Hyaluronic Acid) นั่นเอง
  • Semi Permanent Filler (แบบกึ่งถาวร)
       เป็นฟิลเลอร์แบบบกึ่งถาวรที่อยู่ได้นาน 2-5 ปี แต่ก็มีความปลอดภัยน้อยลงมากว่าฟิลเลอร์แท้แบบไฮยาลูกรอนิกแอซิด และในปัจจุบันก็ยังไม่มีการอนุญาตให้ใช้ในประเทศไทย เรียกได้ว่าถ้ามีการลักลอบมาฉีดฟิลเลอร์ร่องใต้ตาลึกก็จัดได้ว่าอันตราย และอาจเป็นฟิลเลอร์ปลอมได้เลย
  • Permanent Filler (แบบถาวร)
       ฟิลเลอร์แบบถาวร คือฟิลเลอร์เนื้อซิลิโคนหรือพาราฟิน ที่ฉีดไปแล้วมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงในระยะยาวค่อนข้างสูง เพราะผิวไม่สามารถดูดซึมได้ อีกทั้งยังไม่สามารถสลายตัวเองได้อีก ส่งผลให้เกิดการตกค้าง ฟิลเลอร์ไหล ผิดรูป พิษฟิลเลอร์ส่วนมากที่เห็นในข่าวก็มาจากสารชนิดนี้เนี่ยแหละ
     
ข้อห้ามในการฉีดฟิลเลอร์แก้ร่องใต้ตาลึก
  • มีภาวะอักเสบติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณที่จะฉีดฟิลเลอร์
  • เคยมีประวัติแพ้ส่วนประกอบของฟิลเลอร์ที่วินิจฉัยว่าแพ้โดยแพทย์, อาการข้างเคียง (side effect) อื่น ๆ ไม่ได้ถือว่าเป็นการแพ้ (allergy)
  • มีประวัติแพ้ยาชา (ถ้าคนไข้ไม่เคยฉีดยาชาทำฟันมาก่อนควรแจ้งแพทย์เพื่อเพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยาชา)
  • อยู่ในภาวะเลือดไหลไม่หยุด (bleeding disorder) แพทย์จะพิจารณาตามดุลยพินิจ
  • ห้ามทำในผู้ที่ตั้งครรภ์
  • ในกรณีให้นมบุตรควรปรึกษาสูติแพทย์ที่ดูแลก่อนทำ
   นี่เป็นเพียงข้อควรรู้หนึ่งในร้อยเท่านั้น เพราะถ้านั่งศึกษาข้อมูลจริง ๆ จะมีเรื่องของ FAQ มากมายให้อ่านได้อย่างละเอียด แถมยังช่วยตอบข้อสงสัยได้ครบ ชนิดที่ว่าไปหาหมอก็คุยกับหมอได้รู้เรื่องแน่นอน!